เหตุใดนักเพาะพันธุ์เบงกอลบางคนจึงต้องแจ้งข้อมูลผลการตรวจของแมวของตน
ถ้าแมวของฉันเป็นพาหะ ฉันควรกังวลไหม?
เป็นที่ทราบกันว่าภาวะจอประสาทตาเสื่อมลุกลาม (PRA) ส่งผลต่อแมวพันธุ์แท้รวมถึงพันธุ์เบงกอล แมวที่ได้รับผลกระทบจากการตาบอดประเภทนี้ เดิมทีจะสามารถมองเห็นได้อย่างปกติตั้งแต่แรกเกิด และต้อมาจึงค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ แต่ไม่สามารถบ่งบอกระยะเวลาที่แน่นอนได้ โดยแมวส่วนใหญ่จะตาบอดเมื่ออายุ 3-5 ปี และไม่มีการรักษาสำหรับภาวะนี้
นี่เป็นภาวะด้อยของออโตโซม ดังนั้นโรคนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับเพศ แต่เกิดจากยีนกลายพันธุ์สองชุดที่เหมือนกันที่ทำให้แมวสูญเสียการมองเห็น พาหะ นอกจากนี้ แมวที่มียีนกลายพันธุ์ (N/PRA) หนึ่งชุดจะไม่ได้รับผลกระทบและมีการมองเห็นปกติ แต่จะเป็นพาหะส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานแทน
การขาดไพรูเวตไคเนส (PK) เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้ในแมวบางสายพันธุ์ เช่น เบงกอล อาการของโรคมักปรากฏในช่วงอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี โดยจะมีอาการน้ำหนักลด เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนแรง มีภาวะโลหิตจางในหลายระดับ และจบลงด้วยการเสียชีวิตในที่สุด โรคนี้ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม เช่นเดียวกับโรค PRA
แมวที่ติดเชื้อ (K/K หรือ “มีโรค”) เกิดขึ้นได้เมื่อแมวที่ติดเชื้อหรือแมวพาหะผสมพันธุ์กัน เนื่องจากแมวพาหะจะยังคงมีสุขภาพแข็งแรง ประกอบกับการที่แมวที่ติดเชื้ออาจยังไม่มีอาการ ที่ถูกตรวจพบจนกว่าแมวจะอายุ 2-3 ปี จึงเป็นไปได้ที่ทั้งแมวพาหะและแมวที่ติดเชื้อ จะให้กำเนิดลูกไปแล้วจำนวนมากก่อนที่จะระบุได้ว่าเป็นโรคนั่นเอง
เนื่องจากโรคเหล่านี้เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในสายพันธุ์เบงกอล นักเพาะพันธุ์ที่มีจริยธรรมจึงจำเป็นต้องทดสอบแมวที่กำลังจะผสมพันธุ์ของตนเพื่อทราบแน่ชัดว่า พวกมันมีเชื้อสายและมีพันธุกรรมที่ไขว้กันแบบใด รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์แมวสองตัวที่เป็นพาหะของโรค เพราะหากพวกเขาผสมพันธุ์แมวพาหะ 2 ตัว ลูกแมวบางตัวจะเกิดโรคตามมาในภายหลัง ซึ่งจะปรากฎอาการก็ต่อเมื่อแมวได้ย้ายอยู่ในบ้านใหม่แล้ว
ดังนั้น โปรดขอดูผลการตรวจของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ของแมวตัวนั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อแมวเสมอ