เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะประกาศว่าแมวของเราเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเพื่อการวิจัยที่นำโดยดร.สุนทรี เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค HCM และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะลดการเกิดภาวะนี้ในแมวตัวอื่นๆได้ในอนาคต
ดร.สุนทรีและทีมงานของเธอ กำลังทำการศึกษาเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค HCM (Hypertrophic Cardiomyopathy) ในแมว โดยการตรวจยีนที่มีโปรตีนซาร์โคเมอริก ซึ่งพบในแมวที่มีร้อยละของ HCM เป็นบวกสูง จากนั้นเปรียบเทียบกับฟีโนไทป์ (ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ) แล้วแปลผลโปรตีนซาร์โคเมอริกเพื่อยืนยันค่าร้อยละที่ได้เหล่านั้น สิ่งที่แปลกใหม่ในการศึกษานี้คือ เป็นที่ทราบกันว่ายีนที่ต้องการตรวจสอบมีอยู่ในแมวที่ให้ผลบวกของ HCM หลายตัว แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่ามีจุดเชื่อมโยงใดๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างแมวที่ป่วยจากโรค HCM และการเกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมเหล่านี้
Hypertrophic Cardiomyopathy หรือ HCM เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมที่ส่งผลต่อหัวใจห้องล่างซ้ายทั้งในคนและแมว การเกิด HCM ในแมว (14.7%) มีสูงกว่าในมนุษย์ (0.2%) โดย HCM พบได้ทั่วไปในแมวหลายสายพันธุ์ ได้แก่ เบงกอล เมนคูน แรกดอล อังกฤษขนสั้น สฟิงซ์ เปอร์เซีย และแมวบ้านขนสั้น ส่วนในมนุษย์ แนะนำให้ใช้การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ (ICD) แบบฝัง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันจากการป่วยเป็นโรค HCM ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรค HCM ได้ โดยในมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับการแปรผันทางพันธุกรรมมากกว่า 11 ตัว ที่เป็นยีนตัวแปรของการกลายพันธุ์ของซาร์โคเมอริก ซึ่งหากพบการกลายพันธุ์ของซาร์โคเมอริก ก็มีโอกาสจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตีบมากขึ้นถึง 9.9 – 35.5 เท่า แม้ว่าความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรค HCM ในมนุษย์จะพัฒนาแล้ว แต่โรค HCM ในแมวยังคงไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกว่าแมวจะมีอาการป่วย
แมวที่ป่วยด้วยโรค HCM (53.5%) จะแสดงอาการป่วยออกมา เช่น หายใจลำบาก ปอดบวม น้ำท่วมปอด และหัวใจล้มเหลว (CHF) อาการป่วยที่พบบ่อยที่สุดในแมวที่ป่วยด้วยโรค HCM คือภาวะหัวใจล้มเหลว (37%) นอกจากนี้ การก่อตัวของลิ่มเลือดหรือลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (ATE) ในหัวใจห้องบนซ้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดในแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้ การอุดตันของหลอดเลือดแดงที่เกิดจากลิ่มเลือดในหัวใจ ส่งผลต่อการขาดเลือดเฉียบพลันของแขนขา และอาจส่งผลให้เกิดการอัมพาตของแขนและขาหลัง อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาก่อนหน้านี้ (46.4%) พบว่าแมวที่ป่วยเป็นโรค HCM จำนวนมากก็ไม่แสดงอาการใดๆ
ภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมในแมวเป็นสิ่งที่ท้าทายในการวินิจฉัย โดยแมวที่ป่วยเป็นโรค HCM ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจหา HCM ในระยะเริ่มแรกด้วยฟีโนไทป์ปกติจึงเป็นประโยชน์สำหรับแนวทางการรักษา การคาดคะเนการเกิดโรค และการป้องกัน
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับการตรวจหาโรค HCM ในแมว การวัดความหนาของผนังหัวใจฝั่งซ้ายและผนังกั้นระหว่างเวนทริเคิลในจังหวะที่คลายตัวเต็มที่ (ED) หากมีมากกว่า 6 มม. ถือว่ามีความหนากว่าปกติ ซึ่งการลดการทำงานของหัวใจห้องบนซ้าย อันเนื่องมาจากโรค HCM สามารถตรวจพบได้จากขนาดหัวใจห้องบนซ้าย นอกจากนี้ ความเรื้อรังและความรุนแรงยังใช้เส้นผ่านศูนย์กลางหัวใจห้องบนซ้ายในการคาดคะเนโรคได้อีกด้วย ซึ่งทาง ACVIM ที่เป็นองค์กรเกี่ยวกับโรคหัวใจ แนะนำให้ทดสอบยีนกลายพันธุ์ HCM ก่อนผสมพันธุ์ เพื่อลดการแพร่กระจายของยีนจากแมวสู่แมว และลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ HCM นี้ในแมวลง