fbpx

ทำไมจึงควรทำหมันลูกแมวตั้งแต่ยังเล็ก?

มีข่าวลือกันว่ากระบวนการนี้ไม่ปลอดภัยและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมา จริงรึเปล่า?

มีความเข้าใจและความเชื่อผิดๆ มากมายเกี่ยวกับการทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ ในประเทศไทย เพราะฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ หมายถึง การทำหมันล่วงหน้าหรือก่อนที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในบางกรณีอาจทำล่วงหน้าเร็วขึ้นถึง 4 เดือนสำหรับเพศเมีย โดยสำหรับเจ้าของและลูกแมวแล้ว ล้วนมีประโยชน์มากมาย ได้แก่

  1. ในการควบคุมประชากรแมว เราสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้แมวมีจำนวนประชากรมากเกินไป โดยการทำหมันก่อนที่แมวจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
  2. สามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม การติดเชื้อในมดลูก และโรคอื่นๆ
  3. สามารถลดความเสี่ยงในการหลบหนีออกไปเที่ยวเตร่ และติดต่อกับแมวตัวอื่นที่อาจเป็นพาหะนำโรค
  4. สามารถลดความเสี่ยงที่จะปัสสาวะเรี่ยราดไม่เหมาะสมและการทะเลาะกัน และอาจนำไปสู่เหตุผลที่ฝั่งเจ้าของมากมายเลือกจะทอดทิ้งแมวตนเองในเวลาต่อมา
  5. ระยะเวลาการผ่าตัดสั้นลง และสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย

แล้วมีข้อเสียหรือไม่? พวกเรามองว่านี่เป็นเพียงความเชื่อผิดๆ มากกว่าจะเรียกว่าข้อเสีย ซึ่งประเด็นที่พบเจอบ่อย ได้แก่

  1. การทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ ในเพศชายจะเพิ่มความเสี่ยงของการปัสสาวะอุดตัน? นี่เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ความเป็นจริงจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อปัสสาวะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ แม้จะมีการทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ กล่าวคือ การทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะอุดตันแต่อย่างใด
  2. การทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้แมวไม่สามารถเจริญเจิบโตได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร? นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อผิดๆ ที่กังวลกัน เนื่องจากมีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วกระดูกของลูกแมวที่ได้รับการทำหมันก่อนวัยเจริญพันธุ์จะมีระยะเจริญเติบโตที่นานขึ้นกว่าเดิมเมื่อเทียบกับแมวทั่วไป โดยสามารถขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปอีกเล็กน้อย
  3. การทำหมันตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับลูกแมวเป็นอันตรายกว่า? แท้จริงแล้วมันไม่ได้อันตรายไปกว่าการทำหมันแมวที่โตเต็มวัยแล้วแต่อย่างใด แต่จะแตกต่างกับที่วิธีการให้ยาสลบ และสัตวแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ในการผ่าตัด

การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำหมันก่อนวัยเจริญพันธุ์ (NBA: Neuter Before Adopting) เป็นประโยชน์ต่อทั้งแมวและเจ้าของใหม่ โดยมีสมาคมและองค์กรหลายแห่งที่สนับสนุนกระบวนการนี้ ได้แก่

– The Cat Fanciers Association (CFA)

– The International Cat Association (TICA)

– American Veterinary Medical Association (AVMA)

– Canadian Veterinary Medical Association (CVMA)

– American Association of Feline Practicioners (AAFP)

– American Animal Hospital Association (AAHA)

– สมาคมสัตวแพทย์พักพิง

– มูลนิธิ WINN และอื่นๆ อีกมากมาย

*อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะทำการผ่าตัดใดๆ สัตวแพทย์จำเป็นต้องทำการประเมินแมวตัวนั้นๆ และวินิจฉัยว่าแมวอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดีเพื่อจะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่

References/ เอกสารอ้างอิง:

American Veterinary Medical Association. Policy statement: Dog and cat
population control. AVMA, revised 2009.

Griffin B, DiGangi BA, Bohling MW. A review of neutering cats. In: August JR (ed). Consultations in feline internal medicine. Vol 6.St Louis; Saunders Elsevier, 2010: 776–92.

Fossum TW. Surgery of the reproductive and genital systems. In: Small animal surgery. 3rd edn. St Louis: Mosby Elsevier, 2007: 776–92

Maniaki E, Murrell J, Langley-Hobbs SJ, Blackwell EJ. 2021. Associations between early neutering, obesity, outdoor access, trauma and feline degenerative joint disease. J. Feline Med. Surg. Online ahead of print. doi: 10.1177/1098612X21991456

Hayes HM, Milne KL, Mandell CP. Epidemiological features of feline mammary carcinoma. Vet Rec 1981;108(22):476–479. doi: 10.1136/vr.108.22.476

Howe LM, Slater MR, Boothe HW, et al. Long-term outcome of gonadectomy performed at an early age or traditional age in cats. JAVMA 2000;217:1661–1665. doi: 10.2460/javma.2000.217.1661

Land TW. Favors early spay/neuter. JAVMA 2000;216:659–660.

Overly B, Shofer FS, Goldschmidt MH, Sherer D, Sorenmo KU. 2005. Association between ovariohysterectomy and feline mammary carcinoma. J. Vet. Intern. Med.19(4):560-563.

Porters KL, Polis I, Moons CPH, Van de Maele I, Ducatelle R, Goethals K, Duchateau L, de Rooster H. 2015. Relationship between age at gonadectomy and health problems in kittens adopted from shelters. Vet. Rec. 176: 572.

Porters N, de Rooster H, Verschueren K, et al. Development of behavior in adopted shelter kittens after gonadectomy performed at an early age or at a traditional age. J Vet Behav Clin Appl Res 2014;9(5):196–206. doi: 10.1016/j.jveb.2014.05.003

Root Kustritz MV, Johnston SD, Olson PN. 1996. Effect of prepubertal and postpuberal gonadectomy on heat production measured by indirect calorimetry in male and female domestic cats. Vet. Radiol. Ultrasound. 38(1):42-47.

Root Kustritz MV. Early spay–neuter: clinical considerations. Clin Tech. Small Anim Pract 2002; 17: 124–28.